อาการของ "วัณโรคกับโควิด-19" (โอมิครอน)
Published : 22 April 2022
ความแตกต่างของการแพร่เชื้อระหว่าง "วัณโรคกับโควิด"
"วัณโรค" เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis (M.turberculosis) สามารถติดต่อได้ผ่านทางอากาศ โดยผู้ป่วยวัณโรค 1 คน สามารถแพร่เชื้อได้ 10 คน ส่วนใหญ่วัณโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อนาน (5 % จะป่วยใน 2 ปีแรก และอีก 5 % จะป่วยหลังจากนั้น) สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อแพทย์จะวินิจฉัยอาการโดยการตรวจเสมหะ รวมทั้งสิ่งสิ่งตรวจอื่น ๆ ขึ้นกับตำแหน่งของอวัยวะ ที่มีรอยโรค อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีการป้องกันและรักษามีการรักษาการติดเชื้อวัณโรค ระยะแฝงในผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค (LTB) ปัจจุบันมีสูตรรักษาในการรักษาวัณโรค รวมทั้งยังสามารถฉีดวัคซีนบีซีจี ตั้งแต่แรกเกิดจะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคในผู้ใหญ่ได้
"โควิด" เกิดจากเชื้อไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) สามารถติดต่อผ่านละอองฝอย (droplet transmission) หรือผ่านการสัมผัสกับสั่งคัดหลั่ง (contact tranmission) ผู้ป่วยโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ 2.2 คน หลังจากได้รับเชื้อผู้ป่วยมักจะแสดงอาการภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ สำหรับการวินิจฉัยหาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการป้ายารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก หรือคอหอยหลังช่องปาก อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มียาในการป้องกันเชื้อโควิด19 โดยอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย

วัณโรคจะมีลักษณะอาการ ดังนี้
- ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
- มีเสมหะปนเลือด
- เจ็บหน้าอก
- มีไข้
- เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน
- น้ำหนักลด
โควิดจะมีลักษณะอาการดังนี้
- มีไข้
- มีอาการไอ
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- มีน้ำมูก
- ปวดศรีษะ
- โดยเฉพาะอาการโอไมครอนที่พบว่ามีอาการเหงื่อออกเยอะมากตอนกลางคืน
ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค